เมนู

สองบทว่า อฏฺฐ ปรมานิ ได้แก่ พึงทราบอย่างยิ่งทั้งหลาย ที่
กล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง แต่จัดด้วยอำนาจหมวด 8.
หลายบทว่า อฏฺฐสุ ธมฺเมสุ สมฺมาวตฺติตพฺพํ ได้แก่ ในธรรม
8 ที่ทรงแสดงในสมถขันธกะ โดยนัยมีข้อว่า ไม่พึงงดอุโบสถแก่ภิกษุผู้ปก-
ตัตต์ ไม่พึงงดปวารณาแก่ภิกษุผู้ปกตัตต์ เป็นอาทิ.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 8 จบ

[พรรณนาหมวด 9]


วินิจฉัยในหมวด 9 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า นว อาฆาตวตฺถูนิ ได้แก่ อาฆาตวัตถุ 9 มีผูกอาฆาต
ว่า เขาได้พระพฤติไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เป็นอาทิ.
สองบทว่า นว อาฆาตปฏิวินยา ได้แก่ อุบายกำจัดอาฆาต 9
มีข้อว่า บุคคลย่อมกำจัดอาฆาตเสีย ด้วยคิดว่า เมื่อเราผูกอาฆาตอยู่ว่า เขา
ได้ประพฤติไม่เป็นประโยชน์แก่เรา ความไม่ประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์นั้น
เราจะพึงได้ในบุคคลนี้ จากไหน ดังนี้ เป็นอาทิ.
สองบทว่า นว วินีตวตฺถูนิ ได้แก่ ความงด ความเว้น ความ
กำจัดเสียด้วยอริยมรรค จากวัตถุแห่งอาฆาต 9.
หลายบทว่า นวหิ สงฺโฆ ภิชฺชติ ได้แก่ ความแตกแห่งสงฆ์
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี ความร้าวแห่งสงฆ์และความแตกแห่งสงฆ์
ย่อมมีภิกษุ 9 รูปบ้าง เกินกว่า 9 รูปบ้าง ดังนี้.
สองบทว่า นว ปรมานิ ได้แก่ พึงทราบอย่างยิ่งทั้งหลายที่กล่าว
แล้วในหนหลังนั่นแล แต่จัดด้วยอำนาจหมวด 9.